วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษา


โครงสร้างของภาษาปาสคาล

ภาษาปาสคาลเป็นภาษาชั้นสูงที่มีรูปแบบโครงสร้างของภาษที่ชัดเจน บริษัทบอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้คิดค้น บอร์แลนด์ปาสคาล 7 ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างของภาษาปาสคาลไว้ 3 ส่วน คือ
          1. ส่วนหัวของโปรแกรม
              โปรแกรมทุกโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาจะต้องมีชื่อ เพื่อบอกว่าโปรแกรมนี้ชื่ออะไร โดยต้องเขียน ลงใน บรรทัดแรก ของ โปรแกรม การตั้งชื่อโปรแกรมจะต้องเป็นไปตาม กฏการตั้งชื่อ และชื่อโปรแกรมจะต้องไม่ตรงกับ คำสงวน (Reserved Words) ของปาสคาล
          2. ส่วนกำหนดข้อมูล
              ส่วนนี้บางตำราอาจจะเรียกว่าส่วนประกาศ ส่วนกำหนดข้อมูล นี้ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องกำหนด และการกำหนด ก็ไม่จำเป็น ต้องกำหนดทุกหัวข้อ หรือทุกชนิดข้อมูล แต่ถ้าส่วนใดมีจะต้องกำหนดเรียงตามลำดับดังนี้
                          USES                        VAR
                          CONST                      PROCEDURE
                          TYPE                         FUNCTION
                                                                               
           3. ส่วนประโยคคำสั่ง
                 เป็นส่วนที่สั่งให้โปรแกรมดำเนินการ ต่าง ๆ มีทั้งการกำหนดค่า การแสดงผล การรอรับข้อมูล การคำนวณ เปรียบเทียบ คำสั่งที่จะใช้กระทำการเหล่านี้ จะอยู่ในรูปของประโยคคำสั่ง (Statment) คือส่วนที่อยู่ ระหว่าง คำสงวน Begin และ End. ประโยคคำสั่งต่าง ๆ ในภาษาปาสคาล จะต้องปิด ด้วยเครื่องหมาย Semicolon ( ; ) เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้คอมไพเลอร์ รู้ว่า ประโยคคำสั่งนั้นได้สิ้นสุดแล้ว
โครงสร้างของภาษา C 
ในโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษา C ทุกโปรแกรมจะมีโครงสร้างการพัฒนาไม่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1.  ส่วนของเฮดเดอร์ไฟล์ (Header File or Processing Directive) จะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ   โดยใช้คำสั่ง   # include ซึ่งสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
                     รูปแบบที่ 1 :
#include<HeaderName>
                     รูปแบบที่ 2 :
#include “HeaderName”
2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก   ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main()  การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้
3.  คอมเมนต์ (comment) คือส่วนที่เป็นหมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมใส่ข้อความอธิบายกำกับลงไปใน source code ซึ่งคอมไพเลอร์จะข้ามาการแปลผลในส่วนที่เป็นคอมเมนต์นี้ คอมเมนต์ในภาษาซีมี 2 แบบคือ
                      คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย //
                      คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด ใช้เครื่องหมาย /* และ */
โครงสร้างของภาษา Basic
ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ ภาษา Basic นั้นเป็นโปรแกรมที่เป็นพื้นฐานสำหรับหัดเขียนโปรแกรมก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นภาษาที่เป็นคำพูดของคนเราทั่วไป เช่น ดังนี้ การใช้คำสั่ง Print PRINT "Hello World!" เครื่องจะประมวลผลและแสดงผลออกมาเป็นข้อความ Hello world! ออกมาทางหน้าจอ ประเภทคำในภาษาเบสิก ! : Single-precision # : Double-precision $ : String % : Integer & : Long
           โครงสร้างหลักของโปรแกรม ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
                       1. ต้องมีการกำหนดชื่อโปรแกรม
               2. ส่วนของการเขียนโค้ดโปรแกรม
             3. ส่วนจบการทำงานของโปรแกรม จากโครงสร้างหลักดังกล่าว ผู้เขียนโปรแกรมต้องเขียนโค้ดสั่งงานให้กับไมโครคอนโทรเลอร์  ทำงานภายใต้ชุดคำสั่งที mikroBasic PIC เตรียมไว้ให้ หรือเขียนขึ้นมาเอง
โครงสร้างของภาษาแอสเซมบลี
โปรแกรมภาษาแอสเซมบลีเป็นส่วนประกอบด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์ โปรแกรมเหล่านี้จะทำหน้าที่สั่งการให้ส่วนประกอบที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์มีการทำงานตามที่ต้องการ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำการพัฒนาโปรแกรมจึงควรศึกษาโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมก่อน
           โครงสร้างของโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
                    SEQUENCE PROGRAMS : เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานตามลำดับของชุดคำสั่ง
                    CONDITIONAL PROGRAMS : สามารถกำหนดเงื่อนไขให้ตกลงใจว่าจะทำตามคำสั่งชุดใด
                    ITERATION PROGRAMS : ระบุให้ทำตามชุดคำสั่งเดิมซ้ำจนกว่าจะบรรลุตามเงื่อนไขที่กำหนด
จุดเริ่มต้นของโปรแกรมจะต้องกำหนดค่าเริ่มต้นของ Data Segment (DS) Register โดยใช้คำสั่ง MOV AX, DATA และ MOV DS, AX
โครงสร้างของภาษา Java
1. เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
               1.1 Comment คือข้อความที่แทรกเข้าไปในโปรแกรม แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เช่นในกรณีที่เราต้องการอธิบาย Source code ไว้ใน โปรแกรม
               1.2 Keyword คือคำที่ถูกกำหนดไว้ใช้เองแล้วในภาษา Java ไม่สามารถนำมาใช้ในการตั้งชื่อภายใน โปรแกรมได้ ตัวอย่างเช่น class,boolean,char เป็นต้น
               1.3 Identifiers คือชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมา เพื่อใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น method ,ตัวแปร หรือ class ชื่อที่ถูกต้องควรประกอบด้วย ตัวอักษร ,ตัวเลข ,_,$ และจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรเท่านั้น
                 1.4 Separators คือ อักษร หรือ เครื่องหมายที่ใช้แบ่งแยกคำในภาษา
                          - เครื่องหมาย () ใช้สำหรับต่อท้ายชื่อ method ไว้ให้ใส่ parameter  ระบุเงื่อนไขของ if ,while,for ,do และบุชื่อชนิดข้อมูลในการ ทำ casting
                       - เครื่องหมาย{ }ใช้สำหรับ กำหนดขอบเขตของ method แล class
                       - เครื่องหมาย [ ] ใช้สำหรับกำหนดตัวแปรแบบ Arrayและกำหนดค่า index ของตัวแปร array
                       - เครื่องหมาย ; ใช้เพื่อปิดประโยค
                       - เครื่องหมาย , ใช้สำหรับแยกชื่อตัวแปรในประโยค
                       - เครื่อง หมาย . ใช้สำหรับแยกชื่อ package,subpackage และชื่อ class  หรือใช้เพื่อเรียกใช้ ตัวแปร หรือ method ของ Object
โครงสร้างของภาษาโคบอล
โปรแกรมภาษาโคบอลมี 4 Division
1. Identification division ทำ หน้าที่ คล้ายบทนำ ของโปรแกรม ใช้ระบุชื่อโปรแกรม ชื่อผู้เขียน การติดตั้ง วันที่เขียน วันที่แปล เป็นต้น
2. Environment division ทำ หน้าที่ ประกาศชื่อเครื่องที่เกี่ยวข้อง แฟ้มข้อมูลที่นำ มาใช้อุปกรณ์(Device) เป็นต้น ในกรณีที่ไม่ใช้แฟ้มข้อมูล ผู้เขียนสามารถละ Division นี้ไว้ได้
3. Data division ทำ หน้าที่ กำหนดตัวแปร(Variable) และอธิบายลักษณะข้อมูล หรือเขตข้อมูลที่นำ ไปใช้ประมวลผลใน procedure division ตัวแปรแต่ละตัวต้องกำหนดรูปแบบ ขนาดระดับของตัวแปร และสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวแปรได้
4. Procedure division ทำ หน้าที่ รวมคำ สั่งควบคุม และสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำ งานอย่างเป็นขั้นตอนเช่น การใช้คำ สั่งคำนวณ อ่านแฟ้มข้อมูล เลือกเงื่อนไข หรือการวนซ้ำ อยู่ในส่วนนี้ทั้งหมดมักเป็น Division ที่ยาว และซับซ้อนที่สุดในการเขียนโปรแกรม



 
 
 


 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น