วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อปัญหาคอมพิวเตอร์/การซ่อมแซม Windows 7 แบบไม่ต้องลงวินโดว์ใหม่


การวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อปัญหาคอมพิวเตอร์

การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์
      ในการแก้ไขปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
      - ปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นจากตัวอุปกรณ์เองชำรุด หรือทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจจะชำรุดมาตั้งแต่โรงงานผู้ผลิตแล้วก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรับประกันสินค้าทุกชิ้นตอนซื้อ แต่ในบางครั้งปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะเกิดขึ้นจากตัวเราเอง เช่น เสียบอุปกรณ์ผิดหรือปรับแต่งอุปกรณ์ในการทำงานเกินขีดจำกัด เป็นต้น
      - ปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์ (Software) คือ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นจากตัวโปรแกรมเองทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาได้ทั้งตัวระบบปฏิบัติการ (OS) และโปรแกรมใช้งานทั่วๆ ไป เช่น ตัวโปรแกรมอาจจะไม่สมบูรณ์ , โปรแกรมที่ใช้งานไม่สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ หรือถูกไวรัสเข้าไปทำลาย
      - ปัญหาทางด้านของผู้ใช้งานเอง (Users) คือ ปัญหาที่มักจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เช่น การ Overclock CPUและการลองผิดลองถูกต่างๆ

ข้อสังเกตลักษณะและอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์
      ในกรณีที่เครื่องมีปัญหาขึ้นมานั้น จะมีสิ่งบอกเหตุและข้อสังเกตอยู่หลายประการด้วยกัน ซึ่งทำให้เราสามารถทราบและวิเคราะห์อาการเบื้องต้นได้ ว่ามีปัญหามาจากสาเหตุใด จุดที่ใช้สังเกตอาการเสียของคอมพิวเตอร์หลักๆ มีอยู่ 4 จุด คือ
จุดที่ 1 เสียงเตือนจากไบออสเมื่อเครื่องมีความผิดปกติหรือเสียง Beep Code
จุดที่ 2 ข้อความเตือนที่ปรากฏบนหน้าจอเวลาเปิดเครื่อง หรือ Error Message
จุดที่ 3 หลอดไปแสดงสถานะบนเมนบอร์ด
จุดที่ 4 หลอดไฟแสดงสถานะที่หน้าเครื่อง

แนวทางในการแก้ไข
      - เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา อย่าตื่นตกใจ พยายามในเย็นๆ ค่อยๆ แก้ปัญหา มองจากง่ายไปหายาก
      - พยายามวิเคราะห์หาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นว่าน่าจะมาจากสาเหตุใดหรืออุปกรณ์ตัวใดมากที่สุด     
      ทดลองถอด หรือเปลี่ยนเอาอุปกรณ์ที่แน่ในว่าดีมาใส่แทนอุปกรณ์ที่เราคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องมีปัญหา
      - ตรวจเช็คดูว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นหายไปหรือไม่หลังจากทดลองเปลี่ยนอุปกรณ์
      - ถ้าอาการที่เกิดขึ้นนั้นหายไป แสดงว่าสาเหตุอาจจะมาจากอุปกรณ์ตัวนั้น หรือถ้าอาการนั้นไม่หาย ก็ให้ทดลองกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่เราคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุดูเพื่อตัดตัวแปรที่ไม่ใช่ออกทีละตัว
      - เมื่อตรวจพบอุปกรณ์ที่เสียแล้ว ก็ให้ดูก่อนว่ายังอยู่ในระยะประกันหรือไม่
      - ถ้ายังอยู่ในระยะประกัน ก็ทำการส่งอุปกรณ์ที่เสียนั้นให้ทางร้านที่ซื้อมา หรือตัวแทนให้ดำเนินการเคลมสินค้าให้
      - ถ้าหมดระยะเวลาประกันแล้ว ก็อาจจะส่งร้านซ่อมที่เชื่อถือได้หรือซื้อมาเปลี่ยนใหม่

การซ่อมแซม Windows 7 แบบไม่ต้องลงวินโดว์ใหม่

ขั้นตอน
1. เปิดเครื่องบู๊ตเข้าสู่วินโดวส์ตามปกติ
2. นำแผ่น Setup  CD  ของวินโดว์ใส่ลงในไดร์ฟซีดีรอม
3. คลิกปุ่ม Start -> Run
4. พิมพ์คำสั่ง E:\i386\winnt32 /unattended แล้วคลิกปุ่ม OK   (ในกรณีที่ ไดร์ฟซีดีรอมเป็นไดร์ฟ E ถ้าเป็นไดร์ฟอื่นก็ให้แก้เป็นตามนั่นเช่น C:\ or D:\)
5. โปรแกรมติดตั้งจะเริ่มดำเนินการติดตั้งวินโดวส์ให้ใหม่โดยยังคงรักษา
ค่าการทำงานต่างๆ เอาไว้เหมือนเดิม